Update 2024

ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นไข่ 

อะไรแรง อะไรไม่แรง

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.

Update 9 Apr 2024 
Keywords: ยา่กระตุ้นไข่; ฮอร์โมนกระตุ้นไข่; IVF; ICSI; มีลูกยาก; gonadotropins.

คนไข้กระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) จะต้องได้รับฮอร์โมนฉีดกระตุ้นไข่ ซึ่งเป็นฮอร์โมน gonadotropins (ได้แก่ ฮอร์โมน FSH และ LH) ซึ่งในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ ทั้งที่สกัดจากปัสสาวะ (Urinary; Menopur®, IVF-M®) และสังเคราะห์จากเซลล์ที่มีการตัดต่อยีนเพื่อให้สร้างฮอร์โมนชนิดนั้น ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก (Recombinant; Gonal-F®, Puregon®, Pergoveris®, Follitrope®, Elonva®, Rekovelle®) แต่ละชนิดมีความแตกต่างอย่างไร ใครเหมาะกับฮอร์โมนชนิดไหน มาดูกัน

อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเวลาเราวัดขนาดไข่จากอัลตราซาวดน์เป็นการวัดขนาดของถุงไข่ (follicle) ซึ่งไม่ใช่ขนาดของเซลล์ไข่นะครับ แต่เป็นขนาดถุงน้ำที่อยู่รอบ ๆ เซลล์ไข่ ซึ่งบ่งบอกสารน้ำทีั่เซลล์พี่เลี้ยงของเซลล์ไข่ (cumulus cells) สร้างออกมาต่างหาก ดังนั้นไม่ได้แปลว่าถุงไข่โต ภายในนั้นจะมีเซลล์ไข่เสมอไป หากเป็นการวัดโดยอนุมานเท่านั้น (รูปภาพที่ 1)

รูปภาพที่ 1 แสดงการวัดถุงไข่จากอัลตราซาวดน์และถุงไข่ในรังไข่เทียบกับเซลล์ไข่ภายใน

รูปภาพที่ 1 แสดงการวัดถุงไข่จากอัลตราซาวดน์และถุงไข่ในรังไข่เทียบกับเซลล์ไข่ภายใน

ถุงไข่โตได้อย่างไร 

ถุงไข่ (ovarian follicles) แบ่งง่าย ๆ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ุุถุงไข่ที่ยังไม่ตื่นขึ้นมาทำงาน (inactivated follicle; primordial follicles, primary follicles) และถุงไข่ที่เริ่มตื่นขึ้นมาทำงาน (activated follicles) โดยแบ่งเป็นระยะที่ไม่สามารถเห็นได้จากอัลตราซาวดน์ (secondary follicles, preantral follicles) และระยะที่สามารถเห็นได้จากอัลตราซาวดน์ (antral follicles, preovulatory follicles, graffian follicle) นอกจากนี้อาจแบ่งเป็นถุงไข่ที่ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน (gonadotropin-independent follicles) ได้แก่ ระยะที่ไม่เห็นจากอัลตราซาวดน์ลงไปทั้หมด และถุงไข่ที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน (gonadotropin-dependent follicles) 

ฮอร์โมนที่ว่านี้คือฮอร์โมน FSH และ LH ที่สร้างมาจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) โดยระยะแรกเป็นผลจากฮอร์โมน LH ไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศและทำให้เซลล์ในถุงไข่สร้างตัวรับฮอร์โมน FSH จำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีความไวมากขึ้น ่ต่อมาระดับฮอร์โมน FSH จะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นกระตุ้นให้ฮอร์โมน estradiol เพิ่มขึ้น จำนวนเซลล์พี่เลี้ยงเพิ่่มขึี้น จนระดับ estradiol สูงมากและนานพอ จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมน LH สูงขึ้นมากเกิด LH surg ไปกระตุ้นให้ไข่ตกในที่สุด (รูปภาพที่ 2) สรุปคือการเจริญพัฒนาของถุงไข่ในการทำเด็กหลอดแก้วอาศัยเพียงฮอร์โมน FSH และ LH นั้่นเอง (รูปภาพที่ 3) โดยหลัก ๆ อาศัยฮอร์โมน FSH อย่างเดียวร่วมกับ LH ที่สร้างจา่กต่อมใต้สมองของตนเองก็มักเพียงพอกระตุ้นให้ถุงไข่โตเพิ่มขึ้นในรอบทำ IVF/ICSI แล้ว

รูปภาพที่ 2 แสดงการเจริญพัฒนาของถุงไข่จากฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมอง

รูปภาพที่ 2 แสดงการเจริญพัฒนาของถุงไข่จากฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมอง

รูปภาพที่ 3 สรุปการกระตุ้นไ่่ข่ใช้เพียงฮอร์โมน FSH และ LH

รูปภาพที่ 3 สรุปการกระตุ้นไ่่ข่ใช้เพียงฮอร์โมน FSH และ LH 

ฮอร์โมนกระตุ้นไข่ผลิตอย่างไร มีฤทธิ์อย่างไรบ้าง

จาก concept การโตของถุงไข่ที่หมอบอกไปก่อนหน้านี้ ฤทธิ์หลัก ๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้ในการกระตุ้นไข่คือ ฤทธิ์ของฮอร์โมน FSH โดยแหล่งที่มาของฮอร์โมนกระตุ้นไข่นั้นได้มาจากทีั้งสกัดจากปัสสาวะสตรีวัยทอง เช่น Menopur®, IVF-M®, IVF-M HP®, และ IVF-C® ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีในท้องตลาดก่อนหน้า จากปัญหาปัสสาวะบริจาคไม่เพียงพอเนื่องจากความนิยมในการทำเด็กหลอดแก้วแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก ทำให้มีการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นไข่โดยใช้เทคโนโลยี recombinant คือ ตัดต่อยีนที่สร้างฮอร์โมน FSH หรือ LH ไปแทรกเข้าใน DNA ของเซลล์พี่เลี้ยงและกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ฮอร์โมนที่ขนาดคงที่และบริสุทธิ์ โดยเซลล์พี่เลี้ยงแตกต่างกันไป การแทรกของยีนที่สร้างฮอร์โมน FSH แตกต่างกันไป เช่น Chinese hamster ovary cell line ใน Puregon®, Gonal-F®, Follitrope®, Pergoveris® หรือ Fetal retinal cell line ใน Rikovelle® ดังรูปภาพที่ 4

รูปภาพที่ 4 แสดงแหล่งการผลิตของฮอร์โมนกระตุ้นไข่แบรนด์ต่าง  ๆ

รูปภาพที่ 4 แสดงแหล่งการผลิตของฮอร์โมนกระตุ้นไข่แบรนด์ต่าง  ๆ

ทีนี้เรามีฮอร์โมนที่มาจากหลายแหล่ง แ้ล่วจะทราบหรือเปรียบเทียบได้อย่างไรว่าฮอร์โมนนี้ขนาดเท่าไหร่ ออกฤทธิ์เท่าไหร่ เดิมจึงมีการคิดค้นวิธีการเทียบฤทธิ์ FSH ที่ยอมรับกันทั่วไป (ที่เราเรียกว่า Unit; IU) ได้แก่  Steelman and Pohley assay ซึ่งทำโดยการฉีดยาที่ต้องการทดสอบไปในหนูทดลองแล้วเปรียบเทียบน้ำหนักรังไข่ทีเ่พิ่มขึ้น ปรากฎว่าวิธีนี้ทำให้ฮอร์โมนที่สกัดจากปัสสาวะมีฤทธิ์ต่อรังไข่หนูน้อยกว่าฤทธิ์ที่มีในมนุษย์จริง ทำให้ปัจจุบันใช้การตรวจจากการทำงานของเซลล์ในห้องทดลองแทน ทำให้แม่นยำกว่า ดังนั้นฮอร์โมนกระตุ้นไข่ในปัจจุบันไม่ว่าจะยี่ห้ออะไรขนาดที่เป็น IU เท่ากันก็มีฤทธิ์ของ FSH เท่ากัน

แต่อย่างไรก็ตาม ยากระตุ้นไข่บางชนิดยังมีฤทธิ์ของฮอร์โมน LH ร่วมด้วย ได้แก่ Menopur®, IVF-M®, IVF-M HP®, และ Pergoveris® ดังแสดงในรูปภาพที่ 5 

รูปภาพที่ 5 แสดงฤทธิ์ของยากระตุ้นไข่แบรนด์ต่าง ๆ

รูปภาพที่ 5 แสดงฤทธิ์ของยากระตุ้นไข่แบรนด์ต่าง ๆ 

คนไข้ประเภทใดที่ควรได้ฮอร์โมน LH ร่วมด้วยในการกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้ว 

จากที่หมอบอกไปก่อนหน้าว่าคนกระตุ้นไข่ส่วนใหญ่ต้องการการทำงานของ FSH เพิ่มขึ้นก็เพียงพอทำให้ไข่โตและเป็นไข่สุกได้แล้ว แต่จะมีคนไข้บางประเภทที่ควรได้รับ LH ระหว่างกระตุ้นไข่ร่วมด้วยเพื่อให้ไข่มีคุณภาพดีขึ้น ได้แก่

คนไข้เหล่านี้แม้ในบางกรณีระดับฮอร์โมน LH จะไม่ต่ำ เช่น ผู้ที่อายุมากกว่า 38 ปีหรือคนไข้​ PCOS แต่พบว่าโมเลกุลของฮอร์โมน LH ในคนไข้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบที่จับกับตัวรับฮอร์โมนได้ไม่ค่อยดี ทำให้ฮอร์โมน​ LH ของตัวเองไม่เพียงพอที่จะทำให้ถุงไ่ข่เจริญพัฒนาปกติ

สรุป

ฮอร์โมนกระตุ้นไข่ทุกแบรนด์มีความแรงของฤทธิ์ FSH ใกล้เคียงกัน (หากเทียบด้วย unit) แต่ความแตกต่างก็คือการที่มีฤทธิ์​ของฮอร์โมน LH ด้วย ซึ่งจำเป็นในผู้กระตุ้นไข่ในบางกรณีเพื่อให้ไข่มีการเจริญพัฒนาเป็นไข่สุกที่เหมาะสมที่สุด