การตรวจการทำงานของท่อนำไข่ 

Tubal patency test

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

ท่อนำไข่ (fallopian tubes) 

เป็นอวัยวะที่ต่อจากมดลูกโดยตรง โดยแบ่งเป็นข้างซ้ายและขวา ท่อนำไข่มีบทบาทต่อการมีลูกไม่ว่าจะเป็นการรับเอาเซลล์ไ่ข่จากรังไข่ การเดินทางของอสุจิเข้ามาหาไข่ จุดปฏิสนธิ (fertilization) รองรับการเจริญของตัวอ่อน 4-5 วันแรกหลังจากไข่ตก และย้ายตัวอ่อนให้เข้ามาสู่มดลูกเพื่อฝังตัวต่อไป หรืออาจจะกล่าวได้ว่าท่อนำไข่ก็เหมือนกับตู้อบเลี้ยงตัวอ่อนที่เราใช้ในห้องแลปทำเด็กหลอดแก้วนั่นเอง 

การทำงานผิดปกติของท่อนำไข่ ไม่ว่าจะเป็นท่อนำไข่ตัน (nonpatent tubes) ท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinges) หรือมีการอักเสบ ทำให้กลไกการตั้งครรภ์ตั้งต้นเกิดไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากจากท่อนำไข่ (tubal factor infertility) ซึ่งพบได้บ่อยถึงร้อยละ 15-30 ของผู้มีบุตรยาก นอกจากนี้การทำงานของท่อนำไข่ยังมีผลต่อการเลือกวิธีการรักษามีบุตรยาก เช่น การฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) คามผิดปกติของท่อนำไข่ถือว่าเป็นข้อบ่งห้ามในการ IUI เนื่องจากไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสมที่ทำให้อสุจิเข้าปฏิสนธิกับไ่ข่ได้ ผู้ที่มีความผิดปกติของท่อนำไข่จึงจำเป็นต้องรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF, ICSI) เท่านั้น 

การประเมินท่อนำไข่มีประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน (1) มีรายงานการตรวจการทำงานของวท่อนำไข่ด้วยวิธี hysterosalpingography (HSG) ตั้งแต่ ปี ค.ศ.​ 1895 หลังจากนั้นมีรายงานวิธีการตรวจใหม่ ๆ หลายวิธี บางวิธีก็หายไปแล้ว บางวิธีก็ยังอยู่ และยังอาจมีวิธีใหม่ ๆ ขึ้นมา  ส่วนปัจจุบันนี้มีวิธีใดบ้าง วิธีไหนดี มีขัอเสียอย่างไร วันนี้มาคุยกันครับ

เทคโนโลยีการประเมินการทำงานของท่อนำไข่ (Tubal patency tests)

ปัจจุบันการตรวจการทำงานของท่อนำไข่ (2) มีหลายวิธี โดยวิธีที่ใช้บ่อยได้แก่

1. การฉีดสีเอกซเรย์ท่อนำไข่ (Hysterosalpingography; HSG) 

HSG เป็นเทคโนโลยีการตรวจท่อนำไข่แรกที่มีการรายงาน โดยเป็นการตรวจด้วยรังสีเอกซเรย์ขนาดต่ำผ่านการฉีดสารทึบรังสี (contrast media) ผ่านปากมดลูก ทำให้สามารถประเมินรูปร่างโพรงมดลูก ท่อนำไ่ข่ทั้งสองข้างได้โดยประเมินจากการกระจายออกจากท่อนำไข่ของสารทึบรังสี สารทึบรังสีนี้มี 2 ประเภท ได้แก่ water-soluble contrast media (WSCM) และ oil-soluble contrast media (OSCM) โดยพบว่าการใช้ OSCM อาจมีผลทางการรักษาได้ด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยอาจมีมูกอุดตันที่ท่อนำไข่ 


ข้อเสียของ HSG คือ ความเจ็บปวด ไม่สะดวกสบายระหว่างการตรวจ การได้รับรังสีเอกซเรย์บริเวณอุ้งเชิงกราน และความแม่นยำในการตรวจน้อยโดยเฉพาะการตันของท่อนำไข่ส่วนต้น (proximal tubal occlusion) พบว่า HSG มีความแม่นยำเพียง ร้อยละ 40 

2. การประเมินท่อนำไข่ด้วยกล้องส่องช่องท้องและฉีดสีทางปากมดลูก (Laparoscopic chromopertubation) 

การส่องกล้องช่องท้องและฉีดสีผ่านทางปากมดลูก นับว่าเป็นวิธีการตรวจประเมินการทำงานของท่อนำไข่มาตรฐาน (gold standard) ทำได้โดยการผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้อง (laparoscopy) ภายใต้ยาดมสลบ มีความแม่นยำสูงแต่ถือว่าเป็นการตรวจที่รุกล้ำ (invasive) เนื่องจากต้องให้ยาสลบทั่วไป การใส่ท่อช่วยหายใจและการต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จึงทำเฉพาะกรณีที่ต้องผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้องเพื่อการผ่าตัดอื่น ๆ ร่วมด้วย

3. Hysterosalpingo-contrast sonography (HyCoSy)

เป็นการตรวจท่อนำไข่โดยใช้อัลตราซาวนด์และฉีดน้ำเกลือที่มีฟองอากาศเล็ก ๆ เข้าไปในโพรงมดลูก โดยจะเห็นน้ำเกลือที่มีฟองอากาศสีขาวออกจากปลายท่อนำไข่ (fimbriae) และเห็นน้ำเกลืออยู่รอบ ๆ รังไข่ใข่ข้างที่ปกติ (ovarian rim sign) ข้อดีของ HyCoSy คือ ความเจ็บปวดจากการตรวจมีน้อยมาก  ค่าใช้จ่ายน้อย ไ่ม่ต้องพักรักษาในโรงพยาบาล และสามารถตรวจได้ในคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากเกือบทุกที่เนื่องจากต้องมีอัลตราซาวนด์ด้วยอยู่แล้ว นอกจากนี้การตรวจอาจใช้อัลตราซาวนด์สามมิติ (3D-TVUS) เพิ่มเติมซึ่งจะทำให้แสดงภาพ contrast ออกจากท่อนำไข่ทั้งสองข้างได้พร้อมกันเช่นเดียวกับการตรวจด้วย HSG 

4. Hysterosalpingo-foam sonography (HyFoSy)

เป็นการตรวจโดยการใช้อัลตราซาวนด์เช่นเดียวกับ HyCoSy ต่างกันที่ HyFoSy ใช้การฉีดสารที่ลักษณะเนื้อโฟม​ (มีฟองอากาศแทรกมากกว่าน้ำเกลือ) เข้าไปในโพรงมดลูก ทำให้เห็นเป็นสีขาวที่เข้มกว่าน้ำเกลือจาก HyCoSy ทำให้เห็นได้ชัดเจนกว่า


HyCoSy และ HyFoSy มีความแม่นยำในการวินิจฉัยการทำงานของท่อนำไข่สูงมากใกล้เคียงกับ laparoscopic chromopertubation 


ส่วน MR HSG และ CT HSG หมอคิดว่ามีความยุ่งยากในการตรวจมาก จำนวนเครื่องตรวจที่จำกัด ทำได้ไม่ทั่วไป และค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูง ทำให้ไม่มีความคุ้มค่าในการส่งตรวจ

สรุป

การเลือกวิธีใดในการประเมินการทำงานของท่อนำไข่ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของสถาบันที่ตรวจ ภาวะของคนไข้

References