ความเครียดกับระบบสืบพันธุ์สตรี

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

ความเครียดกับการรักษามีบุตรยากนี่เรียกว่าเป็นของคู่กันนะครับ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ คุณความเครียดก็มักจะเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญอยู่เสมอ ๆ ยิ่งคิดถึงมันยิ่งเครียดไปอีก

ทีนี้ความเครียดของผู้หญิงนี่ทำร้ายอะไรกับการมีลูกบ้าง... จากบทความ Levinson AL, Igonina TN, Rozhkova IN, Brusentsev EY, Amstislavsky SY. Psycho-emotional stress, folliculogenesis, and reproductive technologies: clinical and experimental data. Vavilovskii Zhurnal Genet Selektsii. 2022 พบว่าความเครียดไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลันรุนแรงหรือเป็นความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มา ๆ หาย ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ก็ตามจะทำให้การสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไช่สร้างน้อยลง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบเล็กน้อย เช่น ไข่ตกช้า การสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนถูกรบกวน ซึ่งจะส่งผลให้มีถุงไข่ค้าง (ทำให้เริ่มการรักษาใด ๆ ไม่ได้นะจ้ะต้องรอให้มันยุบก่อน) ตัวอ่อนฝังยากหรือเกิดการแท้งได้ หรือหากเป็นหนัก ๆ ไข่ก็อาจจะไม่ตกและฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำจนประจำเดือนไม่มาเลยก็เป็นได้

วันนี้หมอมีเทคนิคการจัดการกับความเครียดแบบง่าย ๆ มาแนะนำ



รับรองว่าความเครียดจะลดลงทันที ส่วนถ้าใครยังมีความเครียดขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วรู้สึกว่าจัดการกับมันไม่ได้ แนะนำให้ลองปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ดูนะจ้ะ บุคลากรเหล่านี้สามารถแนะนำวิธีการจัดการกับความเครียดได้อย่างดีเยี่่ยมเลยนะ


ด้วยความปรารถนาดี

หมอพัฒน์ศมา

แสดงความคิดเห็น