Cervical incompetence

ปากมดลูกหย่อน

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

คนไข้กลุ่มที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก ไม่ว่าจะเป็น มดลูกวิรูป (dysmorphic uterus) ผนังกั้นช่องในโพรงมดลูก (septate uterus) ถึงแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขและตั้งครรภ์ไปแล้ว แต่ยังมีอีกภาวะที่ต้องเฝ้าระวังนั่นคือ ปากมดลูกหย่อน (cervical incompetence) เนื่องจากตัวมดลูกและปากมดลูกมาจากโครงสร้างเดียวกันในตัวอ่อนคือ Müllerian ducts คนไข้กลุ่มนี้จึงอาจมีความผิดปกติของปากมดลูกร่วมด้วยแต่แรกอยู่แล้ว

คนไข้ที่มีปากมดลูกหย่อนมักจะไม่มีอาการอะไร บางรายอาจมีเลือดออกเล็กๆ ้น้อย ๆ จากช่องคลอดตอนปากมดลูกค่อย ๆ บางลงและเปิดช้า ๆ โดยคนไข้มักไม่มีความรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวเลย อาการจะเริ่มมีช่วงอายุครรภ​์ 18-20 สัปดาห์และอาจมีปัญหาอีกครั้งช่วง 32-34 สัปดาห์ โดยจะมีการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อปากมดลูกเปิดมากแล้ว (มากกว่า 5 ซม.) และทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดมากได้หลังจากเริ่มมีอาการไม่กี่นาที มีวิธีการรักษาหลายวิธี วันนี้มาดูกันว่าวิธีไหนเป็นอย่างไรกันบ้าง 

การป้องกันปากมดลูกหย่อน หมอจะแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์วัดความยาวปากมดลูกที่อายุครรภ์ 11-12 สัปดาห์ 18-20 สัปดาห์และ 27-28 สัปดาห์ (วัดอย่างน้อยทั้งหมด 3 ครั้ง) เนื่องจากช่วงอายุครรภ์ดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงของมดลูกทำให้อาจพบปากมดลูกสั้นลงได้และใส่ cervical cerclage pessary เพื่อป้องกันการสั้นและเปิดของปากมดลูก

ขอให้มีลูกงามยามปลอดคลอดง่าย ๆ กันทุกท่านนะครับ

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

แสดงความคิดเห็น