Patient-centered 

fertility treatment

การดูแลภาวะมีบุตรยากโดยมีคนไข้เป็นศูนย์กลาง

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

คนไข้ที่รักษากับหมอ น่าจะเคยเจอว่าเราคุยนำเสนอ option ต่าง  ๆ มากมาย บอกข้อดี ข้อเสีย โอกาสสำเร็จของแต่ละวิธีตามคว่ามเป็นจริง แล้วก็จะเน้นอายุว่าค่อนข้างมาก คำว่าแก่พูดเบา ๆ ก็เจ็บ อิอิ ค่าใช้จ่าย แล้วก็ให้คนไข้เลือกเองว่าจะรักษายังไง แม้ว่าบางคนจะบอกว่าหมอเลือกให้หน่อยก็จะใจแข็งบอกว่า ไม่เลือกให้หรอกเงินเธอ คืออยากให้คนไข้ที่มารักษา ได้มีส่วนร่วมในการดูแลตัวเองให้สุงสุด เพราะว่าการรักษาที่จะได้ผลนั้นต้องมีคนไข้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งคนไข้จะเป็นศูนย์กลางไม่ได้เลยถ้าขาดความรู้ความเข้าใจถึงความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริง ไม่ใ่ช่เพ้อฝัน (Fertility Reality NOT Reproductive Fantasy) รวมทั้งหาข้อมูลความเป็นไปได้ และเลือกการรักษาได้อยา่งเหมาะสม

ความฝันสูงสุดเลยคือ คนไข้กับหมอ  discuss กันว่า สั่งยาอันนี้ เพราะอย่างนี้ อย่างนี้ คนไข้คิดว่ายังไง ซึ่งดูท่าจะห่างไกลกับความเป็นจริงพอควร เพราะว่าตอนนี้ถามว่ารอบก่อนหน้ากระตุ้นมาเนี่ยใช้ยาอะไรบ้างส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลย ไอ้ยาฉีด อันนั้นหนะค่ะ ยากินอันนี้อะค่ะ มันไม่ valid อะ เชื่อถือไม่ได้ ฉีดยาอะไรบ้าง กี่วัน ต่อด้วยอะไร เก็ฐไข่วันไหน เก็บแล้วออกมาเป็นยังไง คงต้องสนใจ คงต้องถาม อย่าเดินเข้ามารักษาแบบงง ๆ  เบลอ ๆ แล้วฝันว่าจะได้อุ้มลูก โดยที่หนทางระหว่างนั้นเป็นไงมาไงไม่รู้ แล้วก็เดินออกจากคลินิกไปแบบเบลอ ๆ โดยที่ก็ไม่สมหวังซักที

#การมีส่วนร่วมของคนไข้ในทุกขั้นตอนคือหนทางสู่ความสำเร็จ เพราะว่าจะมีใครรู้จักตัวคุณเองได้ดีกว่าคุณ และเรื่องของตัวคุณจะไปถามใคร


ด้วยความปรารถนาดี

หมอพัฒน์ศมา

แสดงความคิดเห็น