ปัจจัยอะไรที่ทำให้ย้ายตัวอ่อนแล้วท้อง

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

มีคนไข้ถามว่าในความเห็นหมอปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การ #ย้ายตัวอ่อนแล้วท้อง นอกเหนือจากความสมบูรณ์แข็งแรงของตัวอ่อน

จากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ (...แบบคิดสัก 20 วิ) หมอว่ามีปัจจัยอยู่ 4 ประการ ดังนี้

หมายถึงวันที่ของรอบเดือนที่ทำให้ผนังมดลูกมีความหนา แข็งแรง และพร้อมที่จะโอบรับตัวอ่อนให้ฝัง เหมือนเตรียมที่นอนนุ่ม ๆ ให้ลูกนอนก็ต้องทำความสะอาดพื้น หา crib เด็กสวย ๆ ที่นอนนุ่ม ๆ มุ้ง โมบายกรุ๊งกริ๊ง ตุ๊กตา ฯลฯ ใช่ไหมจ้ะ คนไข้ที่รอบเดือนยาวประมาณ 28-30 วัน และไข่ตกปกติ วันที่ตัวอ่อนฝังจะประมาณวันที่ 19-21 ของรอบเดือน

หมายถึงเวลาหลังจากไข่ตก (กรณีเตรียมผนังมดลูกรอบธรรมชาติ) หรือเวลาหลังจากเริ่มสอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทางช่องคลอด ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเปลี่ยนโครงสร้างของเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาขึ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ให้นุ่มนวลและเหนียวหนืดเล็กน้อย จำนวนชั่วโมงหลังเริ่มสอดฮอร์โมน คิดง่าย ๆ คือ วันของตัวอ่อน + 1 เช่น ย้ายตัวอ่อน day 5 (ระยะ blastocyst) ก็คือย้ายตัวอ่อนหลังจากสอดโปรเจสเตอโรน 6 วัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงเวลาที่ผนังมดลูกพร้อมรับตัวอ่อนครับ

หมายถึงโพรงมดลูกที่ย้ายต้องมีรูปร่างปกติ ไ่ม่มีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น มดลูกวิรูป (dysmorphic uterus) ผนังกั้นช่องในโพรงมดลูก (septate uterus) ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเนื้องอกมดลูกชนิดที่ยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก

หมายถึงระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดในวันที่ย้ายตัวอ่อน นอกจากเวลาในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สอดช่องคลอดแล้ว ระดับของโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือด #ในวันที่ย้ายตัวอ่อน ก็มีความสำคัญครับ นอกจากโปรเจสเตอโรนจะมีผลต่อผนังมดลูกแล้ว โปรเจสเตอโรนยังทำงานโดยการทำให้กล้ามเนื้อมดลูกไม่บีบตัวแรงจนตัวอ่อนฝังไม่ได้ และยังกดภูมิคุ้มกันของคุณแม่ให้รับตัวอ่อนที่มีความเหมือนกับคุณแม่เพียงครึ่งเดียว


ขอให้ทุกท่านสำเร็จสมหวังจากการย้ายตัวอ่อน

หมอพัฒน์ศมา