หยุด! เก็บอสุจิผิดวิธี: มาเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องกัน

28 March 2024

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

Keywords: Semen analysis; SA; semen collection; abstinence time; short abstinene; ultrashort abstinence.

คุณภาพอสุจิมีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพตัวอ่อนและโอกาสการตั้งครรภ์ เนื่องจากการส่งต่อโครโมโซม DNA และยังมีส่วนในการกระตุ้นกลไกการปฏิสนธิในเซลล์ไข่และ centriole ดังแสดงในรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1 แสดงบทบาทของอสุจิต่อตัวอ่อนและการตั้งครรภ์

รูปภาพที่ 1 แสดงบทบาทของอสุจิต่อตัวอ่อนและการตั้งครรภ์

การสร้างตัวอสุจิเกิดที่่บริเวณท่อ seminiferous tubules ในอัณฑะ และัตวอสุจิจะถูกลำเลียงไปอนุบาลที่ epididymis เพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (motility) หลังจากนั้นก็จะลำเลียงออกมาทาง vas deferens เพื่อเตรียมหลั่งต่อไป โดยอสุจิจะอนุบาลที่ epididymis 6-10 วัน และเก็บสะสมที่ vas deferens อยู่ได้ถึง 3 เดือน เมื่อสะสมนานขึ้นตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวก็จะตายและไม่เคลื่อนไหวในที่สุด นอกจากนี้ตัวอสุจิที่ตายไปแล้วก็เป็นแหล่งอนุมูลอิสระ​ซึ่งทำให้ตัวอสุจิที่ยังเคลื่อนไหวอยู่มีความผิดปกติ เช่น DNA แตกหัก (DNA fragmentation) อีกด้วย โดยการสร้างและลำเลียงอสุจิจะเกิดอัตโนมัติโดยอสุจิที่หลั่งออกมาจะเป็นส่วนที่เก่าเก็บที่สุด (รูปภาพที่ 2)

รูปภาพที่ 2 แสดงการสร้างและลำเลียงตัวอสุจิจากอัณฑะมาถึงการหลั่ง โดยอุจิที่หลั่งแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่เก่าเก็บที่สุด

รูปภาพที่ 2 แสดงการสร้างและลำเลียงตัวอสุจิจากอัณฑะมาถึงการหลั่ง โดยอุจิที่หลั่งแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่เก่าเก็บที่สุด

รูปภาพที่ 3 คำแนะนำให้งดหลั่งอสุจิ 2-7 วันก่อนมาตรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO)

รูปภาพที่ 3 คำแนะนำให้งดหลั่งอสุจิ 2-7 วันก่อนมาตรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO)

ตัวอสุจิหลังจากอนุบาลที่ epididymis จะมีการเคลื่อนไหวดี หลังจากถูกเก็บนาน ๆ เข้าก็จะมีการตายและไม่เคลื่อนไหวนั่นเอง ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการเก็บอสุจิเพื่อตรวจหรือรักษา โดยแนะนำให้งดหลั่ง 2-7 วันก่อนเก็บตัวอย่าง (รูปภาพที่ 3) ซึ่งตัวเลข 2-7 วันเป็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ไม่พบว่ามีหลักฐานงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มารองรับว่าทำไมต้องงด 2-7 วัน ซึ่งขัดกับหลักการการสร้างและลำเลียงอสุจิตามธรรมชาติอย่างที่หมอได้กล่าวไปแล้วข้างต้น 

นอกจากนี้งานวิจัยที่มีอยู่ทั้งการศึกษาแบบ observational การเก็บข้อมูลย้อนหลังหรือแม้แต่งานวิจัยแบบ RCT ล้วนสอดคล้องกันว่าการงดหลั่งเกิน 24 ่ชั้วโมงสัมพันธ์กับการแตกหักของสาย DNA (DNA fragmentation) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการแบ่งตัวของตัวอ่อนที่ผิดปกติ และการตั้งครรภ์ที่ลดลง การงดหลั่งระยะสั้น (< 24 ชั่วโมง) หรือ short abstinence และ การงดหลั่งโคตรสั้น (1-4 ชั่วโมง) หรือ ultrashort abstinence จะทำให้ DNA fragmentation ลดลงตามลำดับ โดยที่ไม่ทำให้จำนวนตัวอสุจิลดลงแต่อย่างใด (มีคนไข้และหมอหลายคนกลัวว่าเก็บถี่ ๆ อสุจิจะหมด ซึ่งไม่เป็นความจริงเนื่องจาก epididymis สามารถสะสมอสุจิไว้ได้อย่างน้อย 6-10 วัน) ดังแสดงในรูปภาพที่ 4

รูปภาพที่ 4 แสดงผลของการงดหลั่งอสุจิน้อยกว่า 24 ชั่วโมง (short abstinence)

รูปภาพที่ 4 แสดงผลของการงดหลั่งอสุจิน้อยกว่า 24 ชั่วโมง (short abstinence) 

ดังนั้นหมอคิดว่าเราควรแนะนำคนไข้ที่จะมาเก็บอสุจิไม่ว่าจะเพื่อตรวจ (semen analysis) หรือเพื่อการรักษาไม่ว่าจะเพื่อทำ IUI หรือ IVF/ICSI ก็ตาม ไม่ควรงดหลั่งเกิน 24 ชั่วโมงครับ จริง ๆ ส่วนตัวหมอแนะนำให้นอกจากจะงดหลั่งน้อยกว่า 24 ชั่วโมงแล้วยังแนะนำให้หลั่งวันเว้นวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนหน้าด้วย ดังแสดงในรูปภาพที่ 5

รูปภาพที่ 5 แสดงคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเก็บอสุจิ

รูปภาพที่ 5 แสดงคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเก็บอสุจิ

สรุป

จากงานวิจัยที่มีคุณภาพปานกลางถึงดี เราควรเปลี่ยนคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเก็บอสุจิในคนไข้โดยแนะนำให้งดหลั่ง <24 ชั่วโมง เนื่องจากช่วยลด DNA fragmentation และอาจช่วยให้ตัวอ่อนเพิ่มโอกาสในการฝังตัวและเพิ่มโอกาสการคลอดมีชีพได้ (รูปภาพที่ 6)

รูปภาพที่ 6 สรุปคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการเก็บอสุจิ และผลลัพธ์ที่ได้

รูปภาพที่ 6 สรุปคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการเก็บอสุจิ และผลลัพธ์ที่ได้

เอกสารอ้างอิง