ตั้งครรภ์แทนหรืออุ้มบุญ 

(surrogacy):

ทำอย่างไร ต้องขออนุมัติจากใคร ใครทำได้ ใครทำไม่ได้

6 พย. 2023

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.

บทนำ

จากบทความที่แล้วที่หมอสรุปเอาเนื้อ ๆ จาก พรบ. คุ้มครองเด็กฯ​ 2558 ไปแล้ว เช่นเดียวกับกฎหมายหลักทั่วไปที่จะต้องมีกฎหมายลูก อนุบัญญัติ ฯลฯ ออกมาเพื่อขยายความ นิยาม รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สามารถบรรจุลงไปใน พรบ. หลักได้ ทราบไหมว่าปัจจุบัน พรบ. คุ้มครองเด็ก ฯ​ พ.ศ. 2558 มีประกาศที่เกี่ยวข้องจากทั้งกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการคุัมครองเด็กฯ แพทยสภาและสำนักทะเบียนกลาง รวมกันถึง 23 ฉบับเลยทีเดียว


การตั้งครรภ์แทนทำได้โดยการเตรียมผนังมดลูกในผู้ที่จะมาตั้งครรภ์แทนเหมือนกับที่เราจะย้ายตัวอ่อนนั่นแหละครับ พูดง่าย ๆ ก็คือ เหมือนเราไปยืมมดลูกเค้ามาท้องประมาณนั้น ส่วนขั้นตอนทางกฎหมายเดี๋ยวเรามาเรียนรู้ในบทความนี้กัน

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์แทน

อันดับแรกเรามาดูกันว่าประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์แทน นอกเหนือจากตัวพรบ. หลัก พบว่ามีทั้งหมดถึง 8 ฉบับ ได้แก่ 


และในบทความนี้หมอจะใส่หมายเลขอ้างอิงไว้ว่าข้อกำหนดเหล่านี้มาจากประกาศอะไรหรือมาจาก พรบ. โดยใช้เลขตามลำดับเอกสารข้างบนนี้เช่นกันนะครับจะได้หาที่มาที่ไปได้

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถขออนุญาตใช้การตั้งครรภ์แทนได้ตามกฎหมาย

ผู้ขออนุญาตใช้การตั้งครรภ์แทนได้มีคุณสมบัติดังนี้

รูปภาพที่ 1 แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่มีสิทธิขอใ่ช้การตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 1 แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่มีสิทธิขอใ่ช้การตั้งครรภ์แทน 

ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการใช้การตั้งครรภ์แทน

สำหรับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการใช้การตั้งครรภ์แทนดังแสดงในรูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 2 ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 2 ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการตั้งครรภ์แทน

คุณสมบัติของผู้ที่ตั้งครรภ์แทน

กรณีญาติสืบสายโลหิต

โดยทั่วไปตามกฎหมายแนะนำให้ใช้ญาติสืบสายโลหิตของคู่สมรสก่อนแต่ต้องไม่เป็นแม่ของคู่สมรสหรือบุตรสาวของคู่สมรส อายุระหว่าง 20-40 ปี ผ่าคลอดไม่เกิน 1 ท้องหรือคลอดธรรมชาติไม่เกิน 3 ท้อง (รูปภาพที่ 3)

กรณีไ่ม่ได้เป็นญาติสืบสายโลหิต

กรณีที่ไม่มีญาติผู้หญิงที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะมาตั้งครรภ์แทนให้ได้ ไม่ต้องตกใจนะครับสามารถหาใครก็ได้เี่เค้ายอมมาตั้งครรภ์แทนให้เราอะ คุณสมบัติก็คล้าย ๆ กันกับญาติสืบสายโลหิตเลย (รูปภาพที่ 3)

รูปภาพที่ 3 คุณสมบัติของหญิงผู้ตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 3 คุณสมบัติของหญิงผู้ตั้งครรภ์แทน

ที่มาของตัวอ่อน

ตัวอ่อนอาจจะมาจากไข่และอสุจิของคู่สมรสเอง ตัวอ่อนบริจาค ไข่บริจาคหรืออสุจิบริจาคก็ได้ แต่ไม่สามารถใช้ไข่จากผู้ตั้งครรภ์แทนนะ 

 รูปภาพที่ 4 แสดงที่มาของตัวอ่อนที่นำมาย้ายกลับในการตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 4 แสดงที่มาของตัวอ่อนที่นำมาย้ายกลับในการตั้งครรภ์แทน

ขั้นตอนการขออนุญาตใช้การตั้งครรภ์แทน

การตั้งครรภ์แทนมีขั้นตอนต่อไปนี้


ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ​ 4-6 เดือน ครับ


หมายเหตุ การอนุมัติให้มีการตั้งครรภ์แทน เป็นการอนุมัติจำเพาะกับคู่สมรส หญิงที่จะตั้งครรภ์แทน และสถานพยาบาล หมายความว่าถ้ามีการเปลี่ยนตัวของคนใดคนหนึ่ง เช่น เปลี่ยนสถานพยาบาล เปลี่ยนผู้จะตั้งครรภ์แทน ต้องเตรียมเอกสารเพื่อขออนุมัติจาก กคทพ​.​ใหม่ 

คู่สมรสที่ต้องการมีบุตรต้องรับผิดชอบอะไรต่อผู้ตั้งครรภ์แทนบ้าง

การตั้งครรภ์แทนก็เหมือนกับเราฝากลูกเราให้คนอื่นเลี้ยง ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเอื้อเฟื้อต่อกันและกันมีความสำคัญมาก ตามกฎหมายคู่สมรสมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้ตั้งครรภ์แทนดังต่อไปนี้ (รูปภาพที่ 5)

รูปภาพที่ 5 แสดงความรับผิดชอบของคู่สมรสต่อผู้ตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 5 แสดงความรับผิดชอบของคู่สมรสต่อผู้ตั้งครรภ์แทน 

ความรับผิดชอบของผู้ที่รับตั้งครรภ์​

ผู้ที่ตั้งครรภ์แทนก็ต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน ได้แก่ (รูปภาพที่ 6)

รูปภาพที่ 6 ความรับผิดชอบของผู้ตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 6 ความรับผิดชอบของผู้ตั้งครรภ์แทน

การยุติการตั้งครรภ์แทน

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา การตั้งครรภ์แทนบางครั้งอาจไม่ได้จบที่การคลอดเสมอไป กรณีที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์แทน ได้แก่ 

รูปภาพที่ 7 แสดงข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์แทน

รูปภาพที่ 7 แสดงข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์แทน

สรุป

การตั้งครรภ์แทนช่วยให้ผู้มีบุตรยากสามารถประสบความสำเร็จในการมีลูกได้ง่ายขึ้นในภาวะหลายอย่าง นอกจากนี้หากไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดอาจได้รับผลกระทบเป็นการลงโทษไม่ว่าจะเป็นการจำคุกหรือถูกปรับ แต่ก็มีข้อดีคือเด็กที่เกิดมาเป็นลูกตามกฎหมายของคู่สมรสเหมือนคลอดออกมาเองทุกประการ  

แสดงความคิดเห็น