Mosaicism ตัวอ่อนโมซาอิก 

: เขาว่าหนูผิดตั้งแต่ยังไม่เกาะ

23 ก.ย. 2023 (update 1: 27 ตค 2023)

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

Keywords: mosaicism; PGT-A; mosaic; ตัวอ่อน; เด็กหลอดแก้ว; NGS; Next-generation sequencing; IVF; ICSI; มีบุตรยาก

การตรวจวิเคราะห์โครโมโซมในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (preimplantation genetic testing for aneuploidy; PGT-A) ในเทคโนโลยีปัจจุบันจำเป็นต้องมีการทำสำเนาเพื่อเพิ่มปริมาณ DNA ก่อนการวิเคราะห์ (whole genome amplification) เป็นปริมาณมากเพื่อให้มีจำนวน DNA เพียงพอต่อการวิเคราะห์ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการทำสำเนาผิดพลาดได้ นอกจากนี้คุณภาพของตัวอ่อนที่แตกต่างกันก็มีผลต่อคุณภาพ DNA ที่สกัดไปตรวจเช่นกัน

Mosaicism คืออะไร

Mosaicism หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตมีเซลล์ที่โครโมโซมจำนวนปกติและผิดปกติปะปนกัน ดังแสดงในรูปภาพที่ 1A ส่วนผลตัวอ่อนที่ถูกตัดเซลล์ไปส่งตรวจก่อนการย้ายตัวอ่อนนั้น mosaicism หมายถึง จำนวนโครโมโซมในเซลล์เฉพาะที่ถูกตัดส่งไปตรวจมีชุดโครโมโซมในแต่ละเซลล์ไม่เหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่าตัวอ่อนทั้งหมดนั้นมีลักษณะโครโมโซมที่ไม่เหมือนกันทั้งตัวอ่อน ดังแสดงในรูปภาพที่ 1B

รูปภาพที่ 1 A. แสดงนิยามของ mosaicism ทางชีววิทยาที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ที่มีชุดของโครโมโซมแตกต่างกัน เช่น มีทั้งเซลล์ที่โครโมโซมปกติและเซลล์ที่มีโครโมโซมบางคู่ขาดหรือเกินด้วย B. แสดงนิยามของ mosaicism ที่ใช้กันในการตรวจ PGT-A หมายถึง ผลการตรวจโครโมโซมจากเซลล์ของตัวอ่อนที่ตัดไปตรวจมีลักษณะโครโมโซมทั้งปกติและผิดปกติรวมกัน

รูปภาพที่ 1 A. แสดงนิยามของ mosaicism ทางชีววิทยาที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ที่มีชุดของโครโมโซมแตกต่างกัน เช่น มีทั้งเซลล์ที่โครโมโซมปกติและเซลล์ที่มีโครโมโซมบางคู่ขาดหรือเกินด้วย B. แสดงนิยามของ mosaicism ที่ใช้กันในการตรวจ PGT-A หมายถึง ผลการตรวจโครโมโซมจากเซลล์ของตัวอ่อนที่ตัดไปตรวจมีลักษณะโครโมโซมทั้งปกติและผิดปกติรวมกัน

เทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการตรวจวิเคราะห์จำนวนโครโมโซมในตัวอ่อนมีหลายเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีราคาที่ไม่สูงเกินไปคือ Next-generation Sequencing (NGS) ซึ่งผลการตรวจจะแสดงออกเป็น intermediate copy number คือจะบ่งบอกว่า DNA ของโครโมโซมคู่ต่าง ๆ มีจำนวนกี่เท่าของตัวเทียบ (รูปภาพที่ 2) เช่น

ปัญหาคือ มีกรณีที่ค่า copy number ออกมาไม่ได้ตรงเส้น 1, 2, 3 คืออยู่ระหว่างค่าเหล่านี้ ซึ่งทำให้แปลผลไม่ได้ว่าตกลงตัวอ่อนนั้นมีโครโมโซมกี่ชุดกันแน่ ทำให้มีการกำหนด intermediate copy number threshold ขึ้น คือ 20-80% หมายความว่า

รูปภาพที่ 2 แสดงเกณฑ์ intermediate copy number ที่บ่งบอกว่าตัวอ่อนมีโครโมโซมโมเซอิก  โครโมโซมคู่ที่ 3 อยู่ในช่วง mosaic monosomy ส่วนคู่ที่ 22 เป็น mosaic trisomy ที่มา Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy. Fertility and Sterility, Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211.

รูปภาพที่ 2 แสดงเกณฑ์ intermediate copy number ที่บ่งบอกว่าตัวอ่อนมีโครโมโซมโมเซอิก  โครโมโซมคู่ที่ 3 อยู่ในช่วง mosaic monosomy ส่วนคู่ที่ 22 เป็น mosaic trisomy

ที่มา Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy. Fertility and Sterility, Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211.

ทีนี้ก็มีคนสงสัยว่าตัวอ่อนมีผลเป็น mosaic นี่ตกลงมันปกติหรือผิดปกติกันแน่ วิธีแก้สงสัยก็คือเอาตัวอ่อนที่ผลมีปัญหาเหล่านี้ตกลงมันปกติ หรือผิดปกติกันแน่ จึงมีคนศึกษาเพิ่มเติมโดยการเอาตัวอ่อนเหล่านี้มาตัดเซลล์ไปตรวจหลาย ๆ จุด (ตัวอ่อนเราจริง ๆ ทำแบบนี้ๆไม่ได้นะจ้ะ ตัวอ่อนตายพอดี) พบว่าเกือบ 60% ของตัวอ่อนเหล่านี้ไม่ได้มีโครโมโซมเป็น mosaic จริง ๆ โดยพบว่า 28.3% มีโครโมโซมผิดปกติและร้อยละ 29 มีโครโมโซมปกติ นอกจากนี้การศึกษาต่อมาพบว่าการย้ายตัวอ่อนที่มีสัดส่วน mosaic ระดับต่ำ (<50%) มีผลการตั้งครรภ์ไม่แตกต่างจากตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ (euploid)

สาเหตุการเกิด mosaicism

เนื่องจากผลตรวจโครโมโซมที่เป็น mosaic ไม่ได้แปลว่าตัวอ่อนนั้นผิดปกติจริง แปลว่ามีตัวอ่อนที่ผลการตรวจโครโมโซมเป็น mosaic มีจำนวนไ่ม่น้อยที่เป็นผลบวกลวง (false positive) ผลที่ไม่ตรงกับตัวอ่อนจริงนี้เกิดมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 

รูปภาพที่ 4 แสดงผลของผลกระทบจาก noise ต่อความแม่นยำในการทำนายโครโมโซมปกติ (เสียงรบกวนน้อย) และอัตราข้อผิดพลาดเมื่อทำนาย mosaic (เสียงรบกวนมาก)  ที่มา Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy.Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211,  Fertility and Sterility 2021.

รูปภาพที่ 3 แสดงผลของผลกระทบจาก noise ต่อความแม่นยำในการทำนายโครโมโซมปกติ (เสียงรบกวนน้อย) และอัตราข้อผิดพลาดเมื่อทำนาย mosaic (เสียงรบกวนมาก) 

ที่มา Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy.Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211,  Fertility and Sterility 2021.  

จะย้ายตัวอ่อน mosaic ต้องพิจารณาอะไรบ้าง 

มีประเด็นอยู่ 3 ประเด็นที่ต้องพิจารณาครับ 

ประเด็นต่อมาคนไข้อาจคิดว่าโอกาสที่จะเป็น mosaic น้อยก็จริง แต่ถ้าเกิดย้ายไปแล้วเด็กมีโครโมโซม mosaic จริง ๆ จะเกิดอะไรขึ้น โดยทฤษฏีหากตัวอ่อนมีโครโมโซมเป็น mosaic แล้วผลลัพธ์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 3 กรณีดังแสดงในรูปภาพที่ 4

รูปภาพที่ 4 แสดงผลกระทบที่เกิดจากตัวอ่อนมีผลโครโมโซมเป็น mosaic ทางทฤษฏี A. confined placental mosaicism (CPM) หมายถึง หมายถึง พบเซลล์ที่มีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง แต่เป็นเฉพาะที่บริเวณรกเท่านั้น B. true fetal mosaicism หมายถึง ตัวทารกมีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง C. uniparental disomy (UPD) หมายถึง ตัวอ่อนมีการแก้ไขความผิดปกติของโครโมโซมโดยสุดท้ายทารกมีจำนวนโครโมโซมปกติแต่โครโมโซมทั้ง 2 แท่งที่เหลืออยู่มาจากพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียวเท่าน้้น ที่มา ดัดแปลงจาก Clinical management of mosaic results from preimplantation genetic testing for aneuploidy (PGT-A) of blastocysts: a committee opinion. Fertility and Sterility 2020.

รูปภาพที่ 4 แสดงผลกระทบที่เกิดจากตัวอ่อนมีผลโครโมโซมเป็น mosaic ทางทฤษฏี A. confined placental mosaicism (CPM) หมายถึง หมายถึง พบเซลล์ที่มีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง แต่เป็นเฉพาะที่บริเวณรกเท่านั้น B. true fetal mosaicism หมายถึง ตัวทารกมีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง C. uniparental disomy (UPD) หมายถึง ตัวอ่อนมีการแก้ไขความผิดปกติของโครโมโซมโดยสุดท้ายทารกมีจำนวนโครโมโซมปกติแต่โครโมโซมทั้ง 2 แท่งที่เหลืออยู่มาจากพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียวเท่าน้้น

ที่มา ดัดแปลงจาก Clinical management of mosaic results from preimplantation genetic testing for aneuploidy (PGT-A) of blastocysts: a committee opinion. Fertility and Sterility 2020.

   1.1 Confined placental mosaicism (CPM) หมายถึง พบเซลล์ที่มีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง แต่เป็นเฉพาะที่บริเวณรกเท่านั้น ตัวเด็กผลโครโมโซมปกติ ความผิดปกติแบบนี้พบได้ 2% ในคนไข้ตั้งครรภ์ทั่วไปอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เด็กที่ตั้งครรภ์กรณีนี้ไม่พบว่ามีปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด แต่อาจมีความเสี่ยงของการแท้งและทารกโตช้าในครรภ์เพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ขึ้นกับเซลล์อะไรในรกที่มีความผิดปกติ

1.2 True fetal mosaicism หมายถึง ตัวทารกมีผลโครโมโซมเป็น mosaic จริง โครโมโซมที่พบบ่อยว่าเกิดโมเสกคือโครโมโซมคู่ที่ 21 และ 18 เกิน และความผิดปกติของโครโมโซมเพศทั้ง X และ​ Y ไม่ว่าจะขาดหรือเกิน พบว่าทารกที่มีโครโมโซมเป็น mosaic ร่วมกับมีความผิดปกติที่ตรวจพบจากอัลตราซาวนด์มีความเสี่ยงสูงที่จะมีพัฒนาการผิดปกติหรือมีความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งความผิดปกติในแต่ละรายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติในแต่ละอวัยวะ แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าทารกที่มีโครโมโซมเป็น mosaic ไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เลยก็ได้ 

1.3 Uniparental disomy (UPD) หมายถึง ตัวอ่อนมีการแก้ไขความผิดปกติของโครโมโซมโดยสุดท้ายทารกมีจำนวนโครโมโซมปกติแต่โครโมโซมทั้ง 2 แท่งที่เหลืออยู่มาจากพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียวเท่าน้้น ๆ กรณีที่เกิด UPD ไม่พบว่ามีลักษณะผิดปกติจำเพาะ แต่อาจพบความผิดปกติจำเพาะหากเกิด UPD กับโครโมโซม 6, 7, 11, 14,15, 2, 16, และ 20 นอกจากนี้หากโครโมโซม 2 แท่งมาจากโครโมโซมชุดเดียวกันอาจเกิดโรคยีนด้อยไดั 

2. ตัวอ่อนที่มีผลโครโมโซม mosaic ย้ายจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร

Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy.Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211,  Fertility and Sterility 2021.

รูปภาพที่ 5 แสดงผลการรักษาของการย้ายตัวอ่อน 2,759 ตัวที่ผลโครโมโซมเป็น mosaic ที่มีรายงานในการวิจัย 

ที่มา ดัดแปลงจาก Treff, Nathan R. et al. The “mosaic” embryo: misconceptions and misinterpretations in preimplantation genetic testing for aneuploidy.Volume 116, Issue 5, 1205 - 1211,  Fertility and Sterility 2021.  

ปัจจุบันจากวิจัยที่มีการรายงานผลการรักษาของการย้ายตัวอ่อน mosaic กว่า 2,700 ตัว พบว่ามีทารกที่เกิดจากตัวอ่อนเหล่านี้กว่า 1,000 คน คิดเป็น livebirth rate 38% และไม่มีทารกที่มีความผิดปกติเลย มีเพียง 1 รายเท่านั้นที่มีการยืนยันว่าทารกมีโครโมโซมเป็น mosaic จริง ๆ (รูปภาพที่ 5) แล้วทีนี้ตกลงตัวอ่อน mosaic มันเกิดจากอะไร ตัวไหนย้ายได้ ตัวไหนไม่ควรย้าย มาดูกันต่อ

3. ลักษณะตัวอ่อน mosaic แบบไหนที่ย้ายได้

ตัวอ่อนที่มีผลตรวจโครโมโซมตัวไหนย้ายได้ ตัวไหนไม่ควรย้าย มีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังรูปภาพที่ 6 

รูปภาพที่ 6 แสดงปัจจัยที่นำมาพิจารณาสำหรับการเลือกย้ายตัวอ่อนที่เป็น mosaic จาก PGT-A  ที่มา ดัดแปลงจาก Clinical management of mosaic results from preimplantation genetic testing for aneuploidy (PGT-A) of blastocysts: a committee opinion. Fertility and Sterility 2020.

รูปภาพที่ 6 แสดงปัจจัยที่นำมาพิจารณาสำหรับการเลือกย้ายตัวอ่อนที่เป็น mosaic จาก PGT-A 

ที่มา ดัดแปลงจาก Clinical management of mosaic results from preimplantation genetic testing for aneuploidy (PGT-A) of blastocysts: a committee opinion. Fertility and Sterility 2020.

3.1 สัดส่วนเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติ อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าเรานับว่าตัวอ่อนเป็น mosaic เมื่อมี copy number ผิดปกติระหว่าง 20-80% เมื่อมีการย้ายตัวอ่อน mosaic เหล่านี้มากขึ้นทำให้ปัจจุบันเราแบ่งตัวอ่อน mosaic ออกเป็น 2 กลุ่มตาม %mosaic ดังแสดงในรูปภาพที่ 7

รูปภาพที่ 7 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติจากการตรวจ PGT-A กับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ ที่มา Leigh, D. et al., PGDIS position statement on the transfer of mosaic embryos. Reproductive BioMedicine Online 2021.

รูปภาพที่ 7 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติจากการตรวจ PGT-A กับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์

ที่มา Leigh, D. et al., PGDIS position statement on the transfer of mosaic embryos. Reproductive BioMedicine Online 2021.

ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่ากรณีที่ตัวอ่อนมี %mosaic ต่ำ โอกาสการตั้งครรภ์และการแท้งไม่แตกต่างจากตัวอ่อนที่มีผลโครโมโซมปกติ 

3.2 โครโมโซมที่ผิดปกติเป็นคู่อะไร ถ้าพิจารณาอ้างอิงจากโครโมโซมผิดปกติที่ขาดหรือเกินทั้งแท่ง โครโมโซมบางแท่งขาดหรือเกินไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ บางแท่งขาดหรือเกินสามารถเจริญเติบโตในครรภ์จนครบกำหนดคลอดได้ เช่น คู่ 21 เกินมาทำให้เกิด Down syndrome เป็นต้น แต่จากการศึกษาพบว่าผลตัวอ่อน PGT-A ที่เป็น mosaic ไม่ว่ราจะโครโมโซมคู่ที่เท่าไหร่ก็มีโอกาสตั้งครรภ์และคลอดเป็นทารกปกติไม่แตกต่างกัน

3.3 โครโมโซมที่ผิดปกติเป็นการขาดหรือเกิน เดิมเราอ้างอิงจากการที่โครโมโซมขาดไม่ว่าจะคู่อะไรโอกาสท้องจนครบกำหนดคลอดน้อยมาก ยกเว้นโครโมโซม X แต่ปรากฎว่าการย้ายตัวอ่อน mosaic จาก PGT-A ไม่ว่าจะขาดหรือเกินโอากสท้งอไม่แตกต่างกัน

3.4  โครโมโซมผิดปกติเป็นความผิดปกติทั้งแท่งโครโมโซมหรือบางส่วน โครโมโซมเป็นหน่วยพันธุกรรมขนาดใหญ่โต การขาดหรือเกินของโครโมโซมอาจเกิดกับโครโมโซมแค่บางส่วนไม่ทั้งแท่งก็ได้ (partial loss/gain) โดยมีหลายการศึกษาที่บ่งชี้ว่าการที่โครโมโซม mosaic ชนิดที่หายไปบางส่วนมีโอกาสเป็นผลบวกลวงมากกว่า 

3.5 จำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ บางรายอาจมีโครโมโซมเป็น mosaic คู่เดียว หรือบางรายอาจมีจำนวนโครโมโซม mosaic 2 หรือมากกว่าคู่ได้ โดยพบว่าโครโมโซมที่เป็น mosaic เพียง 1 หรือ 2 คู่มีผลการตั้งครรภ์ใกล้เคียงกัน แต่หากจำนวนโครโมโซม mosaic 3 คู่ขึ้นไปจะมีอัตราการตั้งครรภ์ที่ลดลง

สรุป

ด้วยความปรารถนาดี

หมอพัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

เอกสารอ้างอิง

แสดงความคิดเห็น