นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

ยาที่ใช้ในการรักษามีบุตรยากมีอะไรบ้าง?​ แต่ละตัวทำงานอย่างไร?

Keywords: gonadotropin; มีลูกยาก; อยากมีลูก; เด็กหลอดแก้ว; IVF; ICSI; GnRH; LH; FSH; estradiol; progesterone; GnRH agonist; GnRH antagonist; dipherelin; triptorelin; ganirelix; cetrorelix; orgalutran; cetrotide; gonal-f; puregon; rikovelle; follitrope; menopur; ivf-m; ivf-c; ovidrel

คนไข้มีบุตรยาก โดยเฉพาะคนที่เคยผ่านกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วน่าจะพบว่าทำไมมันมียาหลายชนิดเหลือเกิน แค่จะใช้ให้ถูกก็ยากแล้ว แถมแต่ละตัวเป็นยาอะไรบ้างก็ไม่รู้ ถามหมอก็ไม่กล้าถาม หาใน internet ก็ไม่เจอ หรือเจอก็อ่านแล้วยังงง ๆ ใช่ไหมครับ วันนี้หมอจะมาแนะนำอย่างละเอียดเลย ใครใช้ยาอะไรอยู่บ้างมาหาตามได้เลยจ้า 

เริ่มที่ช่วงกระตุ้นไข่ เก็บไข่เลยเนอะ

ยาที่ใช้หลัก ๆ มี 3 กลุ่ม 

ยากระตุ้นไข่ชนิดรับประทาน

ส่วนใหญ่ใช้กรณีที่อาจให้ยากระตุ้นให้ไข่ตกแล้วคนไข้ไปนับวันมีเพศสัมพันธ์กันเอง เช่น กรณี PCOS ไข่ไม่ค่อยตก หรือเตรียมรังไข่ในรอบที่จะทำ IUI 

Clomiphene citrate

Clomiphene citrate

Letrozole

Letrozole

ยาฉีดกระตุ้นไข่

กรณีทำเด็กหลอดแก้ว ต้องการได้ไ่ข่หลายใบ ความหลากหลายของยามาจากแหล่งที่มาของตัวยา บางตัวได้มาจากสกัดฮอร์โมนจากปัสสาวะ ซึ่งจะได้ฮอร์โมนจากมนุษย์เหมือนเราจริง ๆ กับฮอร์โมนที่ได้จากการตัดต่อยีนที่สร้างฮอรืโมน FSH LH ไปใส่เซลล์บางชนิด เช่น Chinese hamster ovary แล้วให้มันผลิตฮอร์โมนออกมา ซึ่งอาจมีโครงสร้างหลังจากการสร้างสายโปรตีนที่แตกต่างกับที่อยู่ในมนุษย์จริงได้ 

นอกจากนี้สิ่งที่จำแนกชนิดยาฉีดอีกอย่างคือส่วนประกอบของฮอร์โมน การกระตุ้นไข่ให้ราบรื่นนั้นอาศัยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง 2 ตัว ได้แก่ FSH และ LH ซึ่งโดยทั่วไป LH ที่ร่างกายเราสร้างก็เพียงพอแล้ว แต่มีบางกรณีที่อาจต้องมีการเพิ่ม LH เข้าไปด้วย 

Gonal-F

Follitrope

Puregon

Rekovelle

Menopur

IVF-M

Elonva

Pergoveris

ยากันไข่ตก

เมื่อถุงไข่โตไปสักระยะ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สร้างจากถุงไข่จะเพิ่มสูงจนไปกระตุ้นต่อมใต้สมองให้สร้างฮอร์โมน LH เพิ่มและเกิดการตกไข่ก่อนที่เราจะเก็บได้ ดังนั้นจึงต้องมีกลไกอะไรบางอย่างมายับยั้งการที่ไข่ตกไปก่อน ปัจจุบันที่นิยมก็มี 2 กลุ่มได้แก่ 

Trigger shot

เมื่อติดตามถุงไข่โตจนได้ขนาดเหมาะสมที่จะเก็บออกมาแล้ว ทีนี้เราก็ต้องมีการส่งสัญญาณให้ไข่ในนั้นสุกซะที จะได้มาปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้ จึงต้องมีการใช้ฮอร์โมนหรือยาบางอย่างไปบอกเค้าว่าตกได้แล้ว (เนื่องจากก่อนหน้าเราห้ามไม่ให้เค้าตกก่อนไง) ปัจจุบันมียากระตุ้นไข่ตก 2 กลุ่ม โดยอาจจะใช้ตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ทั้งสองชนิดร่วมกันก็ได้ 

รอบเตรียมผนังย้ายตัวอ่อน

ถ้าใครตรวจโครโมโซมตัวอ่อนแช่แข็งหมดก็ต่อมาทางนี้ ส่วนใครย้ายตัวอ่อนรอบสดก็ต้องใช้ยาพวกนี้เหมือนกัน ตามมาต่อกันเลย

การเตรียมผนังมดลูกเพื่อย้ายตัวอ่อน โดยทั่วไปต้องการฮอร์โมนแค่ 2 ตัวเท่านั้นได้แก่


ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบกินและทาผิวหนัง 

เอสโตรเจนกินกับทาต่างกันอย่างไร

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

โปรเจสเตอโรนต่างจากเอสโตรเจนที่ เอสโตรเจนรับประทานก็ยังคงดูดซึมและออกฤทธิ์ได้พอสมควรโดยไม่มีผลข้างเคียง แต่โปรเจนเตอโรนรับประทานจะผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ตับเป็นสารอื่นที่ไม่มีฤทธิ์โปรเจสเตอโรนและยังทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน อีกด้วย 

ดังนั้นการใชัโปรเจสเตอโรนหลัก ๆ มีไม่กี่ช่องทาง คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือสอดช่องคลอด ดังนั้นจึงมีโปรเจสเตอโรนสอดช่องคลอดมากมายหลายยี่ห้อ 

ส่วน Duphaston ไม่ได้เป็นโปรเจสเตอโรนธรรมชาติแต่มีโครงสร้างที่ใกล่้เคียงกับโปรเจสเตอโรนธรรมาชาติมากจึงสามารถรับประทานได้และยังคงออกฤทธิ์เช่นเดียวกับโปรเจสเตอโรน

โปรเจสเตอโรนสำคัญต่อการฝังตัวอ่อนและการตั้งครรภ์อย่างไร

ยาอื่น ๆ - ยาคุมกำเนิด 

นอกเหนือจากยาชุดหลักดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ในบางกรณีอาจมีการได้รับยาอื่น ๆ เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมทั้งฮอร์โมนต่ำมาก ต่ำและปานกลางเพื่อทำให้ประจำเดือนมา หรือกดให้ถุงไข่ที่ไม่ตก (luteinized unruptured follicle) ยุบ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป 

ยาอื่น ๆ 

นอกจากนี้อาจมีการรักษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ขีึ้นอยู่กับพยาธิสภาพที่ตรวจพบ เช่น การรักษาเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ รักษา hyperprolactinemia หรือกรณี PCOS อาจจำเป็นต้องได้รับยา Metformin เพื่อช่วยให้ร่างกายไวต่อฮอร์โมนอินซูลินดีขึ้น เป็นต้น

หวังว่าบทความนี้จะช่วยใหัพอเข้าใจการรักษาง่ายขึ้นบ้างนะครับ


ด้วยความปราถนาดี