AI in the IVF Lab

ปัญญาประดิษฐ์ในแลปมีบุตรยาก

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, 

ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG. 

ในช่วงเวลา 2-3 ปีมานี้ artificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ​เริ่มมีบทบาทในชีวิตประจำวันเรามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตื่นเช้ามาปิดนาฬิกาปลุกจากมือถือ ก็ต้องใช้ Face ID ซึ่งเป็น AI ที่จับภาพใบหน้าจากกล้อง smart phone เพื่อยืนยันตัวบุคคลได้อย่างแม่นยำ เดินไปเข้าห้องน้ำล้างหน้าแปรงฟัน เราก็อาจจะสั่งด้วยเสียงของเราให้ระบบ smart speaker เปิดข่าวหรือเพลงที่เราอยากฟังกระตุ้นความกะปรี้กะเปร่า ด้วยระบบ AI ที่มีระบบ Voice Recognition ทำให้เราได้ฟังเพลงที่อยากฟังได้อย่างรวดเร็วและตอบสนองเฉพาะเสียงของเจ้าของลำโพงเท่านั้น ทำให้เกิดความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ระหว่างรับประทานอาหารเช้า เปิด smart TV ที่มีการแนะนำรายการที่เราน่าจะสนใจหรือดูเป็นประจำ ผ่าน AI ที่ประมวลผล Metadata ด้วย Neural Network นอกจากนี้เราสามารถรับชมรับฟังรายการภาษาที่เราไม่รู้จักได้รู้เรื่องผ่านการแปลแบบ real-time ของ AI ผ่านทักษะ NLP (Natural Learning Process) และ RNN (Recurrent Neural Networks) นี่ยังไม่ได้ออกจากบ้านเลยเราใช้ไปกี่ AI แล้ว

กลับมาที่งานประจำของเรา AI กำลังรุกคืบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หัวข้อที่หมอจะนำมาเสนอวันนี้เป็นสื่อนำเสนอและวีดีโอที่หมอไปบรรยายหัวข้อ AI in the IVF lab ให้กับสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ไทย เมื่อ 15 พย. 2565 ที่ผ่านมา

แสดงความคิดเห็น