นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย
วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.
ภาวะมีบุตรยาก เป็นภาวะมีทีเกิดได้จากหลายสาเหตุ และการแก้ไขสาเหตุที่ตรวจพบเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนที่จะเข้าูสู่กระบวนการรักษามีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (ART ได้แก่ IUI, IVF, ICSI) ดังนั้นคนไข้มีบุตรยากแต่ละรายควรมีการรักษาที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามนวัตกรรมการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย ART มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพบว่ามีแค่ไม่กี่สาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการทำ ART ข้อบ่งชี้จริง ๆ ของการทำเด็กหลอดแก้ว ได้แ่ก ท่อนำไข่ตัน (tubal-factor infertility) และภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชายอย่างรุนแรง (severe male-factor infertility) แม้ว่าการทำ ART จะมีประสิทธิภาพสูงแต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงและขั้นตอนการรักษารุกล้ำและซับซ้อน (เด็กหลอดแก้วแบบ full-option ขั้นเป็นยังไง อ่านได้ที่นี่)
แล้วถ้าเราอยากมีลูก อยากรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ยังไม่อยากทำ ART เรามีตัวเลือกอะไรบ้าง เดี๋ยววันนี้หมอจะเล่าให้ฟัง
แปลเป็นภาษาไทยก็คือการนับวันไข่ตกและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันใกล้ไข่ตก (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมวิธีนับวันไข่ตกและโปรแกรมคำนวณวันไข่ตกที่นี่) หมอเชื่่อว่าคนไข้เกือบทุกคนต้องเคยเดินทางแวะเวียนมาพึ่งความหวังกับกับการนับวันไข่ตก
จากรูปภาพที่ 1 จะเห็นว่าคนที่มีโอกาสสำเร็จจากการนับวันไข่ตกนั้นต้องมีโอกาสท้องสูงด้วยตัวเอง กล่าวคือ อายุไม่เกิน 38 ปี หรือโอกาสท้องเองภาย 1 ปีจากโปรแกรมคำนวณอย่างน้อย 30% (โปรแกรมคำนวณโอกาสท้องสามารถเข้าไปคิดได้ที่นี่) และที่สำคัญคือต้องมีไข่ตกปกติ ตกได้เอง (ดังนีั้นคนไข้เป็น PCOS อะไรเหล่านี้ก็ควรกดข้า่มข้อนี้ไปนะจ้ะ) นอกจากนี้ท่อนำไข่ก็ต้องไม่ตัน ถ้าท่อมีปัญหาก็ไม่เหมาะกับวิธีนี้เช่นกัน
การฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) เป็นการรักษามีบุตรยากก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี IUI ทำโดยการใ่ส่ตัวอสุจิที่เตรียมในห้องปฏิบัติการแล้วเข้าไปในโพรงมดลูก ช่วยลัดระยะทางและการกรองอสุจิของปากมดลูก ทำให้มีโอกาสที่่ตัวอสุจิที่แข็งแรงไปปฏิสนธิกับไข่เพิ่มขึ้น และการกระตุ้นไข่ให้มีจำนวนไข่ตกเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ฟองก็อาจทำให้โอกาสการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น (รูปภาพที่ 2)
IUI ยังต้องอาศัยท่อนำไข่ปกติ จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีโอกาสท้องจาก IUI เป็นกลุ่มที่แนวโน้มไม่ค่อยดี มีโอกาสท้องเองภายใน 1 ปีน้อยกว่า 30% จะมีโอกาสสำเร็จสูงกว่ากลุ่มที่โอกาสท้องเองภายใน 1 ปีสูงกว่า 30% (มาคำนวณโอกาสท้องเองภายใน 1 ปีได้ด้วยตนเองที่นี่
คนไข้หลายรายชอบถามว่าระหว่างการทำ IUI หลาย ๆ รอบเพื่อให้ได้โอกาสการตั้งครรภ์สะสมสูงขึ้นกับทำเด็กหลอดแก้วไปเลยอะไรดีกว่า มีการศึกษาพบว่าถ้าคุณโอกาสท้องน้อย (โอกาสท้องเองภายใน 1 ปีน้อยกว่า 30%) และพยายามมีลูกไม่เกิน 2 ปี การทำ IUI หลาย ๆ รอบจะมีความคุ้มค่า ราคาประหยัดกว่าการทำ IVF ไปเลยx`
หมอชอบคำนี้มากเลย tubal flushing หายถึงการล้างระบายท่อ(นำไข่) ในที่นี่เค้าใช้คำ่า flushing' ซึ่งเหมือนการกดน้้ำที่สุขภัณฑ์ครับ ซึ่่ง 'tubal flushing' เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจประเมินการทำ่งานของท่อนำไข่ที่เราทำกันก่อนเริ่มวางแผนการรักษานี้แหละครับ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดสีเอกซเรย์ (hysterosalpingography; HSG) ผ่านการฉีดสารทึบรังสีชนิดละลายได้ในน้ำ (water-soluble) หรือละลายได้ในน้ำมัน (oil-soluble); HyCoSy; HyFoSy; หรือการฉีดสีขณะผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
พบว่าข้อมูลการตั้งครรภ์หลังจากการตรวจ ็HSG โดยใช้ oil-soluble contrast media พบว่าอัตราการตั้งครรภ์สะสมเพิ่มขึ้นในผู้ที่ตรวจ โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก ส่วนการตรวจท่อนำไข่ด้วยวิธีอื่น ๆ ก็มีรายงานบ้างว่าทำให้อัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึีนเช่นกันแต่ข้อมูลยังไม่มากนัก
รูปภาพที่ 3 แสดง tubal flushing
การเลี้ยงไข่อ่อนนอกร่างกาย (in vitro maturation; IVM) เป็นเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการที่ต้องอาศัยทักษะของผู้ดูแลสูง ทำให้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทำโดยการเก็บไข่จาก antral follicle มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนไข่สุกและทำการปฏิสนธิต่อไป ลักษณะรอบกระตุ้นเพื่อทำ IVM จะใช้ยากระตุ้นขนาดน้อยกว่า และเก็บไข่ที่ขนาดถุงไข่เล็กกว่าทำเด็กหลอดแก้วปกติ ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนของยาน้อยกว่าและโอกาสเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome; OHSS) ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามพบว่า IVM มีอัตราการคลอดมีชีพสะสม (cumulative livebirth) ต่่ำกว่าเด็กหลอดแก้วปกติ ทำให้ยังต้องการข้อมูลจากการวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก (รูปภาพที่ 4)
คนไข้ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงไข่แบบ IVM ได้แก่ ผู้ที่มีจำนวนไข่ตั้งต้นมาก มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นมาก (high-responders) และการตอบสนองปกติ (normo-responders) และคนไข้ PCOS
รูปภาพที่ 4 แสดง concept ของเทคนิคการเลี้ยงไข่อ่อนในห้องปฏิบัติการ
การเลี้ยวตัวอ่อนในอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนในช่องคลอดมีรายงานตั้งแต่ยุค 80's ที่ประเทศฝรั่งเศสเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับตู้เลี้ยวตัวอ่อนในช่วงนั้น โดยหลักการของ IVC คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใส่น้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนและตัวอ่อนไว้ภายในได้ ไม่มีสารพิษปล่อยออกมาอันจะเป็นความเสี่ยงต่อตัวอ่อน และสารที่นำมาผลิตเป็นอุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถให้สารและแกสบางชนิด เช่น CO2 ซึมเข้าไปได้ ดังนั้นเมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในช่องคลอดก็ทำให้น้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนในนั้นมีอุณหภูมิคงที่ (อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่) ความเป็นกรดด่าง และค่าความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ในน้ำยาเลี้ยงคงที่เสมือนตู้เลี้ยงตัวอ่อนในแลปที่เราใช้กันเลยแหละ ปัจจุบันในท้องตลาดมีอัปกรณ์ IVC เพียง 1 เจ้า ชื่อว่า INVOcell ดังแสดงในรูปภาพที่ 5
รูปภาพที่ 5 แสดงอุปกรณ์และหลักการของการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยวิธี intravaginal cultuer (IVC)
จากภาพจะเห็นว่าอุปกรณ์จะมี 2 ส่วนคือ inner chamber ทรงกรวย ไว้สำหรับใส่ไข่กับอสุจิกรณีทำเป็น IVF หรือไข่ที่่ได้รับการฉีดเซลล์อสุจิเข้าไปแล้วกรณีที่ทำ ICSI (1 chamber สามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้ 10 ตัว) ปริมาตรที่เหลือของกรวยจะถูกใส่ไว้ด้วย media เลี้ยงตัวอ่อนจนเต็ม inner chamber นี้จะเอาไปวางไว้ใน culture device รูปร่างคล้ายแคปซูล ปิดฝาให้แน่นแล้วก็เอาอุปกรณ์นี้แหละฝากคุณแม่ไว้ในช่องคลอดให้เอาไปเลี้ยงที่บ้าน ส่วนตัว retention device ก็จะใส่ใต้ culture device อีกที กันไม่ให้อุปกรณ์ไหลหลุดออกมาได้
Concept ของการใช้ INVOcell มีอยู่่ 2 ส่วน ส่วนแรกคือการกระตุ้นแนะนำให้ใช้ mild sitmulation เนื่องจาก INVOcell หนึ่งชิ้นมีคยามจุสูงสุด 10 ตัว การเล้ยงตัวอ่อนสามารถเลี้ยงได้ทั้ง day 3 และ day 5 และแนะนำให้ย้ายตัวอ่อนรอบ fresh
ดังนั้นคนไขั้ที่เหมาะกับ IVC ได้แก่ ผู้ที่มี high-responders, หรือ normo-responder ที่อายุไม่เกิน 38 ปี
การรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อให้บรรลุอัตราการตั้ง่ครรภ์ทีี่สูงที่สุดที่เป็นไปได้ของคนไข้ควรมีการประเมินหาสาเหตุอย่างครบถ้วนและแก้ไขสาเหตุที่แก้ไขได้ หลังจากนั้นหากยังไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้จึงพิจารณา ART การรักษามีบุตรยากนอกเหนือจากการทำเด็กหลอดแก้ว มีอีกหลากหลายวิธีที่ช่วยให้คนไข้มีลูกได้เร็วขึ้น เช่น การนับวันไข่ตก IUI ทั้งกระตุ้นและไม่กระตุ้นไข่ tubal flusing In vitro maturation และ intravaginal culture
Wessel, Jennifer A. et al. Alternatives to in vitro fertilization. Fertility and Sterility 2024, 120, 3, 483 - 493.