นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย
วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์,
ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.
มีข้อมูลเรื่องการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) เข้ารังไข่เพื่อช่วยฟื้นฟูคุณภาพของเซลล์ไข่ทำให้ตัวอ่อนมีคุณภาพดีขึ้น จำนวนมากขึ้น กลไกการทำงานของ PRP คิดว่าเกิดจากการที่ growth factors หลายชนิดที่หลั่งจากเกล็ดเลือดไปช่วยฟื้นฟูกระตุ้นให้ถุงไข่ที่ยังไม่ทำงานและอาจกระตุ้น oogonial stem cell ให้เปลี่ยนมาเป็นเซลล์ไข่ทำให้จำนวนและคุณภาพเซลล์ไข่ดีขึ้น ดังแสดงในรูปภาพที่ 1
รูปภาพที่ 1 แสดงกลไกลการออกฤทธิ์ของ PRP ในเกี่ยวกับรังไข่และผนังมดลูก
การฉีด PRP ที่รังไข่ในผู้ที่มีบุตรยากมีข้อบ่งชี้ต่อไปนี้
อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
จำนวนไข่ตั้งต้น (AFC) น้อย หรือ AMH ต่ำ
เคยกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้วแล้วได้ไข่น้อยกว่า 5 ใบ
การพัฒนาของตัวอ่อนผิดปกติ ได้ blastocyst น้อย
ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติหมด (ต้องการข้อมูลงานวิจัยเพิ่มเติม)
โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีดหลังจากหมดประจำเดือนภายใน 7-10 วัน
การฉีด PRP ที่รังไข่มีขั้นตอนต่อไปนี้
งดน้ำและอาหารก่อนเริ่มหัตถการอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
จะมีการเจาะเลือดเพื่อนำไปเตรียม PRP และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และฮอร์โมน AMH โดยใช้เลือดประมาณ 30-40 ml และให้สารน้ำทางหลอดเลือด
เตรียม PRP ในห้องปฏิบัติการ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ฉีด PRP โดยจะได้รับยาแก้ปวดและหลับก่อน หลังจากนั้นแพทย์จะทำการฉีด PRP ที่รังไข่ผ่านอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด (่คล้ายกับการเก็บไข่) และจะมีการนับจำนวนไข่ตั้งต้น (AFC) ไว้ด้วย โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 15 - 20 นาที
พักฟื้นในห้องพักฟื้น เมื่อตื่นดีคุณพยาบาลจะถอดสายให้น้ำเกลือออกและสามารถกลับบ้านได้
หลังฉีด PRP อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย 1-2 วันแรก รวมทั้งอาจปวดหน่วงท้องน้อยทั้งสองขัาง โดยทางคลินิกจะมียาแก้ปวดไปให้รับประทาน
อย่างไรก็ตามหากท่านสังเกตว่ามีอาการผิดปกติอย่างอื่น หรืออาการไม่ดีขึ้น กรุณาติดต่อคลินิกเพื่อเข้ามาพบแพทย์ทันที
หลังฉีด PRP ที่รังไข่แล้ว จะมีการนัดหมายเข้ามาตรวจเมื่อประจำเดือนมารอบถัดไปในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน โดยจะมีการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมน AMH และอัลตราซาวดน์ช่องคลอดเพื่อนับจำนวนไข่ตั้งต้น (AFC)
ผู้ที่ฉีด PRP ที่รังไข่อาจไมไ่ด้ผลทุกราย โดยพบว่าได้ผลประมาณ 80% พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จได้แก่
ผู้ที่เคยผ่าตัดรังไข่โดยเฉพาะจากชอคโกแลตซีส มีโอกาสที่จะได้ผลน้อยกว่า
ความเข้มข้นของ PRP หลังจากเตรียมแล้วควรมีจำนวนอย่างน้อย 1,000,000 ตัว/ml ขึ้นไป
รูปภาพที่ 2 แสดงความเข้มข้นของเกล็ดเลือดที่มีประสืทธิภาพ
การเตรียม PRP ยังไม่มีวิธีที่ทำเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป ทำให้มีความหลากหลายของความเข้มข้นของเกล็ดเลือดตั้งแต่ 3 เท่าไปจนถึง 15 เท่า ความแตกต่างของแต่ละสถานพยาบาลได้แก่ หลอดเลือดที่ใช้เก็บเลือด ความแรงของการปั่น เวลาที่ใช้ในการปั่น ฯลฯ ดังแสดงในรูปภาพที่ 3 โดยปัจจุบันที่ LIFE by Dr. Pat เราได้เลือกเอาหลอดเตรียม PRP เทคโนโลยีจากเกาหลี ที่ทำให้เกล็ดเลือดเข้มข้นได้สูงถึง 12-15 เท่าของเลือดก่อนเตรียม เพื่อให้คนไข้ได้ประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด
รูปภาพที่ 3 PRP 3.0 ที่ LIFE by Dr. Pat
รูปภาพที่ 4 แสดงคนไข้ตัวอย่างที่รับการรักษาด้วย PRP 3.0 ที่ LIFE by Dr. Pat
ผู้ป่วยอายุ 47 ปีมาปรึกษาหมอด้วยเรื่องอยากมีลูก เบื้องต้นตรวจอัลตราซาวดน์พบ AFC เพียงข้างละ 1 ใบ ตรวจ AMH พบว่าน้อยกว่า 0.1 ng/ml จึงได้แนะนำคนไข้ฉีด PRP รังไข่ โดย PRP ที่เตรียมพบว่าความเข้มข้น 1.3 ล้านตัว/mL หนึ่งเดือนต่อมาหลังจากที่ฉีด PRP ไป ตรวจ AMH พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 1.47 ng/ml และมีไข่ตั้งต้น 7 ใบ ครับ