10 Infertility Myths (part 2)
10 ความเชื่อเรื่องมีบุตรยากเรื่องจริงหรือจกตา ตอนที่ 2
นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย
วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์,
ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.
มีอีก 5 ข้อ
- #จกตา ปกติคนไข้หมอให้ลุกกลับบ้านเลยหลังจากย้ายตัวอ่อนเสร็จ แถมกำชับต่อว่าห้ามนอนเฝ้าห้องน้ำอยู่บ้าน ก็ส่งการบ้านกันเป็นทิวแถว นอนอยู่บ้านเฉยๆ มันเครียดมั้ยเธอ
- #จกตา อีกละ โดยทั่วไปสาเหตุที่พบก็จะแบ่งกันไปคนละครึ่ง อย่ากดดันตัวเอง อย่าโทษตัวเอง ถือว่าทำบุญ (หรือกรรม) คู่กันมาละ ก็ช่วย ๆ กันไป ไม่ได้เป็นความผิดของฉันหรือความผิดของเธอ ช่วย ๆ กันไป เดี๋ยวก็ถึง
- #จกตาอีกแล้ว อายุผู้ชายที่มากขึนก็ทำให้มีบุตรยากเช่นเดียวกัน เพียงแต่ผู้ชายอายุจะเริ่มมีผลหลังจากผู้หญิงถึง 10 ปี นั้นคิอ หลัง 40 ปีขึ้นไป โอกาสมีบุตรของผู้ชายก็จะเริ่มลดลง
- #จกตาอีกละ คุณภาพตัวอ่อนหลังจากแช่แข็งจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับคุณภาพตัวอ่อนก่อนจะแช่เข้าไป แล้วก็ฝีมือนักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลครับ ถ้าตัวอ่อนคุณภาพไม่ดี... เหมือนเธอเอาขยะไปแช่อะ ละลายออกมามันก็เป็นขยะป่าว โดยทั่วไปถ้าโปรแกรมแช่แข็งตัวอ่อนมาตรฐาน เมื่อละลายออกมาตัวอ่อนต้องรอดอย่างน้อย 80%
- #จกตา เช่นกันจ้ะ ยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่มีฤทธิ์หลักคือยับยั้งไข่ตก ไ่ม่ได้ไปทำลายไข่ที่มีอยู่เลยแม้แต่น้อย เพียงแต่การคุมกำเนิดบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิดแบบฉีด เมื่อหยุดใช้ อาจใช้เวลานานถึง 1 ปีกว่าไข่จะกลับมาตกตามปกติ ส่วนยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน กว่า 80% ของคนที่ใช้จะกลับมามีไข่ตกตั้งแต่เดือนแรกที่หยุดใช้ยาจ้า ถ้าวางแผนจะมีลูกในเร็ววันนี้ก็ Say no to ยาคุมกำเนิดแบบฉีดจ้า แล้วจะหาว่าไม่เตือน
รัก
นพ. พัฒน์ศมา
แสดงความคิดเห็น