The Classification of Congenital Malformation of Uterus
ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูกมีกี่ประเภท
นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย
วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์,
ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช, MClinEmbryol,
EFOG-EBCOG., EFRM-ESHRE/EBCOG.
จากการทำงานกับคนไข้มีบุตรยากมากว่า 10 ปี หมอเคยเก็บข้อมูลว่าคนไทยที่มีลูกยากที่มาหาหมอเนี่ยจะเจอว่ามีความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก (Congenital Malformation of Uterus; CMU) บ่อยแค่ไหน ปรากฎว่าคนไทยที่มีปัญหามีบุตรยากพบว่ามีความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูกจากการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์สามมิติสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าเจอบ่อยมาก ในคนไข้กลุ่มนี้พบว่าส่วนใหญ่จะมีประวัติไปหาหมอมาแล้วหลายที่ รักษามาแล้วมากมาย ซึ่งมักไม่ประสบผลสำเร็จเลยหรือแท้งไปอย่างน่าเสียดาย
การสร้างมดลูกนั้นเกิดจากท่อ Müllerian ducts ทั้งสองข้างมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและผนังระหว่างท่อทั้งสองสลายไป ดังแสดงใน รูปภาพที่ 1
ดังนั้นหากมีความผิดปกติระหว่างการสร้างมดลูกในขั้นตอนใดก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูกได้ทั้งสิ้น เช่น การมีผนังกั้นช่องในมดลูก (utrine septum) คาดว่าเกิดจากการที่ผนังกั้นระหว่างท่อทั้งสองไม่สลายไปหรือสลายไปไม่หมด uterine didelphys เกิดจากความผิดปกติในการเชื่อมต่อกันของท่อ Müllerian เป็นต้น
เนื่องจากมีความผิดปกติหลายชนิด จึงมีหลายองค์กรที่พยายามจะจำแนกความผิดปกติเหล่านี้ไว้ให้เป็นระบบเพื่อความเรียบร้อยในการตรวจ วินิจฉัย รักษาและการวิจัยเพื่อให้มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ส่วนตัวหมอนิยมใช้ระบบของ ESHRE/ESGE ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ.2556 ดังแสดงใน รูปภาพที่ 2
- U0 normal uterus
- U1 Dysmorphic uterus มดลูกวิรูป
- U2 Septate uterus
- U3 Bicorporeal uterus
- U4 Hemiuterus
- U5 Aplastic uterus
- U6 Unclassified cases
จากรูปภาพที่ 2 มดลูกวิรูปคือ Class U1 Dysmorphic uterus นั่นเอง
ด้วยความปรารถนาดี
หมอพัฒน์ศมา
แสดงความคิดเห็น